วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เพศกระรอก



<< จากภาพ:  แสดงให้เห็นความแตกต่างกระรอกเพศผู้และเพศเมีย
ตัวเมียด้านขวา  อวัยวะเพศจะอยู่ต่ำกว่าใกล้ทวารหนัก
ตัวผู้อวัยวะเพศจะอยู่ด้านล่างและสูงขึ้นไปใกล้สะดือ







วิธีให้ความอบอุ่น
หากคุณพบกระรอกตัวเล็ก ๆ ให้รีบนำมันมาไว้ในที่อบอุ่น กระรอกแรกเกิดนั้นควรอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 37.5-38.5 องศา วิธีให้ความอบอุ่นแก่ลูกกระรอกนั้นทำได้โดย

1. ใช้ไฟดวงเล็ก ๆ 3-5 วัตต์ ช่วยในการให้ความอบอุ่นได้ และต้องไม่ลืม เรื่องความชื้น โดยอาจวางอ่างน้ำเล็ก ๆ ไว้รอบข้างดวงไฟ แล้วคลุมด้วยตระแกรงเหล็กด้านบนเพื่อกั้นไม่ให้ผ้าสัมผัสกับดวงไฟ เพราะถ้าผ้าเกิดสัมผัสกับดวงไฟที่ร้อนโดยตรง อาจทำให้มันหลอมละลาย และ เกิดไฟไหม้ได้ เสร็จแล้วให้เราวางผ้าทับอีกทีชั้น เพื่อให้ความอบอุ่นสะสมอยู่ในผ้าหนา ๆ หน่อยก็ได้นะคะ มันจะได้ขยับตัวซุกตามความอบอุ่นที่มันต้องการ หมั่นเติมน้ำอย่าให้น้ำด้านล่างแห้ง และอย่าลืมเรื่องอากาศถ่ายเทบ้างนะคะ วางผ้าให้ความอบอุ่น แต่ก็มีที่ๆ อากาศถ่ายเทด้วย

2. อาจใช้ถุงน้ำร้อนวางไว้ด้านล่าง แล้วใส่ผ้าด้านบน แต่วิธีนี้ต้องคอยเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพราะสัก 3-4 ชั่วโมง น้ำก็เริ่มไม่อุ่นแล้ว ซึ่งทำได้ยาก และคุณอาจไม่ได้หลับได้นอนเลย อาจใช้ในกรณีที่ต้องเดินทางหรือจำเป็นต้องพกพากระรอกไปไหนเท่านั้น (กรณีต้องไปโรงพยาบาล, หรือต้องเอาไปไหนด้วยเพื่อป้อนอาหาร)

3. หากหาอุปกรณ์ไม่ได้จริงๆ ก็ใช้กล่องเปล่าเฉย ๆ และใส่ผ้าไว้ในนั้น แต่บางครั้งที่อากาศหนาวเย็นมาก อุณหภูมิภายในกรงที่ให้เค้าอยู่ จะต่ำเกินไป จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นเพิ่มด้วย

4. อีกวิธีใส่กล่องแล้ววางไว้บริเวณด้านหลังของตู้เย็น ตู้เย็นทำหน้าทีให้ความเย็น แต่ด้านหลังของมันก็อบอุ่นทีเดียว แต่ต้องใส่ภาชนะให้มีพื้นที่สำหรับเค้าแล้ววางไว้ด้านหลัง จะขยับย้ายที่ตามตำแหน่งที่เค้าต้องการ ถ้าร้อนเกินไปเค้าก็จะขยับออกห่างออกมาเอง ถ้าหนาว เค้าก็จะขยับเข้าไปซุกตรงที่อบอุ่นกว่า
และต้องระวังเรื่องมดและแมลง และสัตว์อืื่น ๆ ที่จะมารบกวนได้นะคะ

ทุกวิธีต้องกรักษาความสะอาด และเปลี่ยนผ้าหรือกระดาษทิชชู่อยู่เสมอ ต้องไม่ให้ผ้าเปียกชื้น และคอยควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 37.5-38.5 เพราะถ้าร้อนหรือเย็นเกินไป ลูกกระรอกอาจป่วยและเสียชีวิตได้


การให้อาหารลูกกระรอก

1. ให้นมถั่วเหลืองปลอดภัยที่สุด  พวกแลคตาซอย ไวตามิลด์ ให้นมอย่างนี้อย่างเดียวได้จนลืมตา และกินผลไม้เลยค่ะ ส่วนซีรีแล็คบางคนก็ว่าใช้ได้ แต่เคยใช้แล้วไม่แนะนำนะคะ เพราะเหมือนมันจะกินแล้วท้องอืดยังไงไม่รู้
2. เวลาป้อนอาหารอย่าป้อนเร็วเกินไป ป้อนทีละหยด ด้านข้างของปากก็ได้ แล้วให้เค้าเลียอาหารเข้าไปเอง หรือจะใช้สริงค์เล็ก ๆ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาและให้เค้าใช้ปากดูดเข้าไปทีละน้อยตามจังหวะของเค้าเอง ดูวิธีป้อนอาหารตามตัวอย่างในภาพด้านล่างนะคะ   อย่าฉีดอาหารเข้าไปอย่างรวดเร็ว  เพราะจะทำให้กระรอกสำลัก ทำให้เป็นปอดบวมได้ และถ้าให้เยอะเกินไปกระรอกก็อาจจะท้องอืด และตายได้เหมือนกัน
3. ต้องให้อาหารบ่อย ๆ แต่ทีละน้อย ในกรณีลูกกระรอกเล็กอยู่ บางครั้งจะหิว และร้องตลอดเวลา ถ้าไม่ได้กินจะเกิดอาการเครียด และถ่ายเป็นฟอง
4. ห้ามให้นมวัว  จะทำให้กระรอกท้องเสีย และตายได้ บางครั้งถ้าจำเป็นจะให้ก็ต้องเจือจางกับน้ำ
5. กรณีที่มีลูกกระรอกหลายตัว อย่าปล่อยให้หิว ต้องคอยดูตลอด เพราะถ้าเราไม่อยู่หรือปล่อยให้หิว อะไรอยู่ข้าง ๆ มันจะคิดว่าเป็นแม่มันหมด บางทีหิวขึ้นมาอีกตัวอยู่ใกล้ ๆ ก็จะถูกดูดจนเป็นจ้ำ ๆ  และช้ำตายได้เลยค่ะ ดังนั้นถ้าให้ปลอดภัย ควรแยกแต่ละตัวไว้คนละที่กัน แต่กรณีที่สามารถป้อนได้บ่อยครั้ง ก็รวมไว้ในที่เดียวกันก็ได้ค่ะ กระรอกจะได้อยู่กันอย่างอบอุ่น และเลี้ยงรวมกันได้เมื่อโตขึ้นด้วย

6. เวลาให้อาหารเสร็จต้องคอยรักษาความสะอาด เปลี่ยนผ้าบ่อย ๆ  การใช้ทิชชู่แทนผ้าก็ทำให้สะดวกขึ้นในการทำความสะอาด ใช้ปลายสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณปากไม่ให้มีคราบอาหาร
7. บางครั้งต้องกระตุ้นลูกกระรอกในการขับถ่ายด้วย ทุกครั้งหลังอาหารใช้ปลายสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดบริเวณทวาร เบา ๆ  วิธีนี้จะทำให้ลูกกระรอกขับถ่ายออกมาได้ หากทวารแห้งและกระรอกไม่ขับถ่าย ลูกกระรอกอาจเสียชีวิตได้



หมายเหตุ : กรณีกระรอกไม่สบาย และต้องการพาไปหาสัตวแพทย์ ให้ไปที่โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร จะดีที่สุดนะคะ เพราะที่นั่นมีคลีนิคสำหรับสัตว์พิเศษด้วย   ก็คือ สัตว์อื่น ที่ไม่ใช่หมา แมว  (โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เลขที่ 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2942-8756-9)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น